ระเบียบสามชั้น: อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในระเบียบของภูมิภาคที่กำลังเปลี่ยนแปลง
(Thai Original)
Abstract
อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) เป็นอนุภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ดังกล่าวประกอบไปด้วยเมียนมา ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และสองมณฑลทางตอนใต้ของประเทศจีน คือยูนนานและกวางสี การพัฒนาภูมิภาคในแถบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้รับอิทธิพลจาก “ระเบียบ” ระเบียบนี้ถูกสร้างอย่างสลับซับซ้อนจากปัจจัยสามประการ คือจากประเทศมหาอำนาจ ซึ่งได้แก่สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอินเดีย จากโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจของอาเซียน และจากระเบียบระดับอนุภูมิภาคที่เป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศใน GMS ระเบียบแต่ละอันมีคุณลักษณะและเป้าหมายที่แตกต่างกัน และถูกสร้างขึ้นโดยความสัมพันธ์เชิงอำนาจสองชุดคือ (1) ความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบข้ามภูมิภาคกับความริเริ่มระดับภูมิภาค และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคที่มีผลต่อสมาชิกของ GMS บทความนี้เสนอว่า ความสัมพันธ์เชิงอำนาจเหล่านี้มีลักษณะสามชั้นที่มีผลต่อภูมิรัฐศาสตร์ของ GMS ซึ่งระเบียบสามชั้นนี้ถูกสร้างจากการแข่งขันกันระหว่างสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และชุดของอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ระเบียบนี้สร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจและส่งผลต่อการพัฒนาการขนส่งในภูมิภาค ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ GMS และโครงการ GMS Editorial Note: Translated in English as “Transforming (Sub)Regional Order(s): The Three-Layered Order of the Greater Mekong Subregion.” Social Transformations: Journal of the Global South publishes bilingual versions of selected submissions with an aim of engaging with the thinking in, on, and from the Global South by way of the languages of its constituencies.
Recommended Citation
เจริญศรี, นรุตม์
(2021)
"ระเบียบสามชั้น: อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในระเบียบของภูมิภาคที่กำลังเปลี่ยนแปลง
(Thai Original),"
Social Transformations Journal of the Global South: Vol. 9:
Iss.
1, Article 2.
Available at:
https://archium.ateneo.edu/socialtransformations/vol9/iss1/2
DOWNLOADS
Since November 05, 2024
COinS
Home > Journals > SOCIALTRANSFORMATIONS > Vol. 9 (2024) > Iss. 1
ระเบียบสามชั้น: อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในระเบียบของภูมิภาคที่กำลังเปลี่ยนแปลง (Thai Original)
Authors
นรุตม์ เจริญศรี, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่Follow
Abstract
อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) เป็นอนุภูมิภาคในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ดังกล่าวประกอบไปด้วยเมียนมา ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม และสองมณฑลทางตอนใต้ของประเทศจีน คือยูนนานและกวางสี การพัฒนาภูมิภาคในแถบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงได้รับอิทธิพลจาก “ระเบียบ” ระเบียบนี้ถูกสร้างอย่างสลับซับซ้อนจากปัจจัยสามประการ คือจากประเทศมหาอำนาจ ซึ่งได้แก่สหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และอินเดีย จากโครงสร้างทางการเมืองและเศรษฐกิจของอาเซียน และจากระเบียบระดับอนุภูมิภาคที่เป็นผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและการเมืองของประเทศใน GMS ระเบียบแต่ละอันมีคุณลักษณะและเป้าหมายที่แตกต่างกัน และถูกสร้างขึ้นโดยความสัมพันธ์เชิงอำนาจสองชุดคือ (1) ความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบข้ามภูมิภาคกับความริเริ่มระดับภูมิภาค และ (2) ความสัมพันธ์ระหว่างระเบียบระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคที่มีผลต่อสมาชิกของ GMS บทความนี้เสนอว่า ความสัมพันธ์เชิงอำนาจเหล่านี้มีลักษณะสามชั้นที่มีผลต่อภูมิรัฐศาสตร์ของ GMS ซึ่งระเบียบสามชั้นนี้ถูกสร้างจากการแข่งขันกันระหว่างสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น และชุดของอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจและการเมือง ระเบียบนี้สร้างความสัมพันธ์เชิงอำนาจและส่งผลต่อการพัฒนาการขนส่งในภูมิภาค ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของ GMS และโครงการ GMS Editorial Note: Translated in English as “Transforming (Sub)Regional Order(s): The Three-Layered Order of the Greater Mekong Subregion.” Social Transformations: Journal of the Global South publishes bilingual versions of selected submissions with an aim of engaging with the thinking in, on, and from the Global South by way of the languages of its constituencies.
Recommended Citation
เจริญศรี, นรุตม์ (2021) "ระเบียบสามชั้น: อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในระเบียบของภูมิภาคที่กำลังเปลี่ยนแปลง (Thai Original)," Social Transformations Journal of the Global South: Vol. 9: Iss. 1, Article 2.
Available at: https://archium.ateneo.edu/socialtransformations/vol9/iss1/2
This document is currently not available here.
DOWNLOADS
Since November 05, 2024
Share
Search
Advanced Search
ISSN: 2799-015X
Home About Help My Account Accessibility Statement
Privacy & Data Protection Copyright